วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนประจำวันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560

Lesson 5


 Knowledge:


  • นำเสนองานกลุ่ม
กลุ่มที่ 6 เรื่อง ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย





กลุ่มที่ 7 เรื่อง ศูนย์เด็กเล็ก  




กลุ่มที่ 8 เรื่อง ชั้นเตรียมประถม










Apply:  
  • เป็นองค์ความรู้พื้นฐานในการเรียนรายวิชาการบริหารสถานศึกษา และทำให้รู้ถึงหลักของการจัดการศึกษาในแต่ละสถานศึกษาที่แตกต่างกันออกไป




Evaluation: 

 Teacher :  
  • เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาได้ละเอียดชัดเจนตรงตามเนื้อหาที่เรียน 
   Friends:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  มีการเตรียมการนำเสนอมาอย่างดี
 Self:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย

บันทึกการเรียนประจำวันพุธ ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560


                                     Lesson 4


 Knowledge:
  • นำเสนอคำคม            
                   นางสาวเปมิกา  ชุติมาสวรรค์
                          นางสาวกรกช  เดชประเสริฐ




นางสาวจรีพร เฉลิมจาน


นางสาวกมลรัตน์  มาลัย


นางสาวปรางชมพู  บุญชม

  • นำเสนองานกลุ่ม

กลุ่มที่1  เรื่อง สถานศึกษาประเภท โรงเรียนอนุบาล Kindergerten


โรงเรียนตัวอย่าง


กลุ่มที่2 เรื่อง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา
  • ศาสนาพุทธ   เช่น   ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดศรีบุญเรือง




 ประวัติของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดศรีบุญเรือง


          ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดศรีบุญเรือง ก่อตั้งโดย พระครูศรีปริยัติคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง เมื่อปีพุทธศักราช 2525 เนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่เด็กตั้งแต่ปฐมวัย และอนุเคราะห์เด็กในชุมชนรอบวัดศรีบุญเรืองได้มีโอกาสเข้าศึกษาในระดับปฐมวัย




หลักการของศูนย์

              ให้การศึกษาพัฒนา เด็กในทุกๆ ด้าน เตรียมความพร้อม เรียนรู้ทักษะ วิชาต่างๆ ด้วยการบูรณาการผสมผสานและการทำกิจกรรมต่างๆ  เด็กจะได้รับการฝึกฝนในการสร้างจิตใจที่ดีงามจนกลายเป็นนิสัยที่ดีต่อไปในอนาคต เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา

    • ศาสนาอิสลาม  เช่น   ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ มัสยิดอัลกอบาตีน บ้านคลองเตาะ


    ประโยชน์ที่ได้รับจากการตั้งศูนย์เด็ก

    พัฒนาเด็กอายุ 3 - 4 ปี ให้มีศักยภาพและความพร้อมทั้ง 4 ด้าน อันได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

    -  เตรียมตัวเด็กในการที่จะเข้าศึกษาต่อในระบบโรงเรียน หรือศึกษาภาคบังคับ โดยเน้นความพร้อมในการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้น

      - ช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง และเพื่อเป็นสวัสดิการพื้นฐานในเรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

         - เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ในเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัย

         - บางครั้งเป็นแหล่งสืบทอดวัฒนธรรมชุมชนขั้นพื้นฐาน



    • ศาสนาคริสต์  เช่น   
       
      สถานรับเลี้ยงเด็กรักนิรันดร์เนอสเซอรี่



    สถานรับเลี้ยงเด็กรักนิรันดร์เนอสเซอรี่มีภารกิจจัดและส่งเสริมการศึกษาระดับปฐมวัยในปีงบประมาณ 2558 ได้กำหนดการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ดังนี้

      ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสถานรับเลี้ยงเด็กให้ได้มาตรฐานในการบริหารจัดการตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ
    ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
    ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กแห่งชาติ

    กลุ่มที่3 เรื่อง สถานรับเลี้ยงเด็ก Nursery


    โรงเรียนตัวอย่าง






    กลุ่มที่ 4 เรื่อง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน

    ความหมาย
        สถานที่ ที่บิดา มารดา นำเด็กมาฝากเลี้ยงไว้เฉพาะกลางวัน เป็นศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชน ในวัด หรือ ศูนย์สงเคราะห์เด็กในอาคาร เป็นสถานศึกษาที่ให้การอบรมเลี้ยงดู จัดประสบการณ์และส่งเสริมพัฒนาการ การเรียนรู้ให้เด็กเล็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 – 5 ปี ให้มีความพร้อม ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา

    ความสำคัญ
       
         การจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากเด็กระดับปฐมวัย ที่มีอายุระหว่าง 3-6 ปี จะเป็นช่วงอายุที่สามารถพัฒนาความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาได้อย่างเต็มที่ หากไม่ได้รับการพัฒนาส่งเสริมในช่วงนี้ อาจจะมีผลทำให้การพัฒนาด้านต่างๆ

    โรงเรียนตัวอย่าง


    โรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ขส.ทบ.



    Apply:  
    • เป็นองค์ความรู้พื้นฐานในการเรียนรายวิชาการบริหารสถานศึกษา และทำให้รู้ถึงหลักของการจัดการศึกษาในแต่ละสถานศึกษาที่แตกต่างกันออกไป




    Evaluation: 

     Teacher :  
    • เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาได้ละเอียดชัดเจนตรงตามเนื้อหาที่เรียน 
       Friends:  
    • เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  มีการเตรียมการนำเสนอมาอย่างดี
     Self:  
    • เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย

    วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

    บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 25 มกราคม 2560

         
                                                                   Lesson 3

    Knowledge:
    • นำเสนอคำคม

    นางสาววันเพ็ญ ใหม่สุด


    นางสาวจงรักษ์  หลาวเหล็ก



    บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร

    ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้ ส่วนความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย


    1. ผู้นำตามอำนาจหน้าที่



    คุณสมบัติของผู้นำ


    1. ความมุ่งมั่น (drive)
    2. แรงจูงใจในการเป็นผู้นำ (Leadership Motivation)
    3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)
    4. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
    5. ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence)
    6. ความรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ (Knowledge of the Business)
    • ผู้บริหารแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 

    1.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการ  (Line Manager) 
    2.  ผู้บริหารทำหน้าที่ให้คำแนะนำ  (Staff  Manager) 
    3.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการเฉพาะด้าน  (Functional Manager) 
    4.  ผู้บริหารทั่วไป  (General Manager) 
    5.  ผู้บริหาร (Administrator) 


    • ภาระหน้าที่และลักษณะงานของผู้บริหาร
    Henri Fayol นักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส ในต้นศตรรษที่ 19 ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารดังนี้ (POCCC)
    1. Planning (การวางแผน) 
    2. Organizing (การจัดองค์การ) 
    3. Commanding (การสั่งการ) 
    4. Coordinating (การประสานงาน) 
    5. Controlling (การควบคุม) 

    • ทักษะของผู้บริหาร
    Robert L. Katz ได้เสนอว่าทักษะของผู้บริหารที่สำคัญมี 3 อย่าง คือ
    1)  ทักษะด้านเทคนิค   (Technical Skills)
    2)   ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์  (Human Skills) 
    3)   ทักษะด้านการประสมแนวความคิด  (Conceptual Skill)

    คุณสมบัติผู้นำตามอักษรชื่อ pattarawan
    p  patient   อดทน
    a                 ช่วยเหลือ
    t   tactic     ไหวพริบดี
    t   tabbed   เเต่งตัวดี
    a   accept   ยอมรับ
    r   reason   เหตุผล
    a   abidity  ความสามารถ
    w  work     งาน
    a   accuracy  ถูกต้อง
    n   neat        สะอาด

    Apply:  
    • เป็นองค์ความรู้พื้นฐานในการเรียนรายวิชาการบริหารสถานศึกษาและยังสามารถนำไปพัฒนา
    ต่อยอดได้ในการเรียนคาบต่อไป




    Evaluation: 

     Teacher :  
    • เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาได้ละเอียดชัดเจนตรงตามเนื้อหาที่เรียน 
       Friends:  
    • เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  
     Self:  
    • เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย



    บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 18 มกราคม 2560


                                                                      Lesson 2



     Knowledge:

    • นำเสนอคำคม
    นางสาวสุทธิกานต์  กางพาพันธ์ุ  


    นางสาวชนาภา คะปัญญา



    นางสาวประภัสสร คำบอนพิทักษ์

              

    >> การบริหารจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัย <<
               เมื่อนำความหมายของ “การบริหาร” มารวมกับความหมายของ “การศึกษา” ก็จะได้ความหมายของ “การบริหารการศึกษา”   ว่า



        สรุปได้ว่า การบริหารสถานศึกษาหรือการบริหารองค์กร  สิ่งที่ต้องตระหนักหรือให้ความสำคัญ คือการบริหารงานบุคคล เพราะบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าในองค์กร ที่สามารถพัฒนาศักยภาพได้ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการต่างๆ 





    • พัฒนาการของทฤษฏีทางการบริหาร



    ทัศนะดั้งเดิม (Classical viewpoint)

             การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์
              การจัดการเชิงบริหาร
              การบริหารแบบราชการ


    ทั้ง 3 ทฤษฏี มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

    ·                     ทัศนะเชิงพฤติกรรม (Behavioral viewpoint)


    1. ทฤษฏีพฤติกรรมระยะเริ่มแรก (Early behavioral theories)

    Hugo Munsterberg บิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรม  ใช้หลักจิตวิทยาในการจำแนกคนงานให้เหมาะสมกับงาน

     Mary Parker Follett นักปรัชญาแห่งเสรีภาพของบุคคล เน้นสภาพแวดล้อมในการทำงานและการมีส่วนร่วม

    2. การศึกษาที่ฮอว์ธอร์น (Hawthorne studies)

    การทดลองของบริษัท เวสเทิร์น อิเล็กทริก ที่เมืองฮอว์ธร์น เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลของแสงไฟต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ในช่วงท้ายของการทดลอง Elton Mayo ร่วมทำการทดลอง สรุปข้อค้นพบว่า
     - เงินไม่ใช้สิ่งจูงใจสำคัญเพียงอย่างเดียว
     - กลุ่มไม่เป็นทางการมีอิทธิพลต่อองค์การ

    ·                     ทัศนะเชิงปริมาณ (Quantitative viewpoint)
    1.การบริหารศาสตร์ (Management science)   มุ่งเพิ่มความมีประสิทธิผลในการตัดสินใจจากการใช้ตัวแบบคณิตศาสตร์และวิธีการเชิงสิติ ซึ่งแพร่หลายได้รวดเร็วเนื่องจากความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างซับซ้อนมากขึ้น
    2. การบริหารปฏิบัติการ (Operation management) 
    ·        ยึดหลักการบริหารกระบวนการผลิตและให้บริการ
    ·        กำหนดตารางการทำงาน
    ·        วางแผนการผลิต
    ·         การออกแบบอาคารสถานที่ การประกันคุณภาพ
    ·         การใช้เทคนิคเครื่องมือต่างๆ เช่น เทคนิคการทำนายอนาคต 
    ·         การวิเคราะห์รายการ ตัวแบบเครือข่ายการทำงาน การวางแผน

    และควบคุมโครงการ
    3. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (management Information System) 
    สารสนเทศบริหารศาสตร์ MIS เน้นการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหาร (Computer based information system : CBISs) 

    ·                     ทัศนะร่วมสมัย (Contemporary viewpoint)
    1. ทฤษฏีเชิงระบบ  
    2. ทฤษฏีการบริหารตามสถานการณ์
    3. ทัศนะที่เกิดขึ้นใหม่   ทฤษฏี Z  ทฤษฏีการบริหารแบบญี่ปุ่น โดย William Ouchi โดยรวมหลักการบริหารแบบอเมริกันรวมกับแบบญี่ปุ่นมีหลักการสำคัญคือ ความมั่นคงในงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับผิดชอบปัจเจกบุคคล เลื่อนตำแหน่งช้า ควบคุมไม่เป็นทางการ แต่วัดผลเป็นทางการ สนใจภาพรวมและครอบครัว

    Apply:  
    • เป็นองค์ความรู้พื้นฐานในการเรียนรายวิชาการบริหารสถานศึกษาและยังสามารถนำไปพัฒนา
    ต่อยอดได้ในการเรียนคาบต่อไป



    Evaluation: 

     Teacher :  
    • เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาได้ละเอียดชัดเจนตรงตามเนื้อหาที่เรียน 
       Friends:  
    • เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  มีการเตรียมเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีการบริหารมาเป็นอย่างดีพร้อมนำเสนอ

     Self:  
    • เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย